จากนั้นไปต่อในการแข่งขันรอบชิงแชมป์ระดับประเทศอย่างเข้มข้น ผลปรากฏว่าทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ReCute จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท ทีมงานประกอบด้วย นายศุภเลิศ ว่องกุลกิจ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวะกรรมศาสตร์ น.ส. หทัยรัตน์ โอพสุกุล สาขาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ นายจรณินทร์ นนทชัยภูมิ สาขาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ โดยการทำ Platform บริหารจัดการ Logistic ของขยะ Recycle เชื่อมโยงตั้งแต่การบริหารจัดการหลังบ้านของร้านรับซื้อของเก่า จนส่งคัดแยกส่งให้โรงงานรีไซเคิลขยะ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม PALALAMP จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท ทีมงานประกอบด้วย นายพิสิษฐ์ แก้วคำ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ น.ส. ณัฐณิชา เมธาฤกษ์ สาขาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์ ด้วยผลงานเครื่องสร้างปุ๋ยน้ำไนโตรเจนจากอากาศ ในรูปแบบของไนเตรทที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ด้วยเทคโนโลยีพลาสม่า โดยได้มี รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล ภาควิชาอุตสาหกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีพลาสม่าให้กับทีม
ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คือทีม MICRONEED จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ด้วยผลงานแผ่นแปะเข็มจิ๋วอัจฉริยะบรรจุยาแบบสลายตัวได้และเป็นมิตรกับร่างกาย (biodegradable and biocompatibility) เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีการออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงในการนำส่งยา วิตามิน และ สารอาหารที่จำเป็นต่อผิวพรรณ เข้าสู่ร่างกายอย่างปลอดภัย
สำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้รับรางวัลทั้งสองทีมนี้ เป็นผลผลิตของ HYPE Club ซึ่งเป็นชมรม Startup ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่บ่มเพาะโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ (STeP) เชื่อมโยงกับ Entrepreneur University ที่สนับสนุนโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กระทรวง อว.)
*****************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น