ในการนี้ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการน้อมนำศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติ โดยนักวิชาการ เกษตรกร ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการน้อมนำศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ พระครูสถิตธรรมาภิรักษ์ เจ้าอาวาสวัดป่าไม้แดงพระเจ้าพรหมมหาราช ประธานโครงการธรรมตามแนวพระราชดำริ (ป่าแลกน้ำ) อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ พลตรีณัฐวุฒิ ชุณหะนันทน์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กองพลทหารราบที่ 7 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูสิทธิ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นายพงษ์พันธ์ นันทขว้าง ศูนย์การเรียนรู้การทำการเกษตรแบบธรรมชาติ (ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง) ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และนางทองดี โพธิยอง ประธานศูนย์เรียนรู้สานสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลดอนแก้ว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังได้ลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กองพลทหารราบที่ 7 , ศูนย์เครือข่ายปรัชญาชาวบ้านแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่สวนครูประทุม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ , ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กองบิน 41 กองทัพอากาศอีกด้วย
สำหรับการประชุมครั้งนี้ เป็นกิจกรรมในโครงการศึกษาดูงานกระบวนการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 15 - 16 พฤษภาคม 2561 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา และคณะทำงานจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน ได้เกิดความรู้ความเข้าใจและเห็นภาพรวมเกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานไว้ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานของคณะทำงาน และใช้ประโยชน์สำหรับการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาต่อไป
***************
ประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-ข่าว/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น