นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานแถลงข่าวสรุปโครงการ “17 วัยใสพิชิตภัย ห่างไกลแอลกฮอล์” ที่ห้องเรียนรวม ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2560 ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้พัฒนาโครงการเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษารู้เท่าทันปัญหาแอลกอฮอล์ภาคเหนือตอนบน ปีที่ 2 (17 วัยใสพิชิตภัย ห่างไกลแอลกอฮอล์) ซึ่งสนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รับความร่วมมือจาก 17 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชมมงคลล้านนา เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงราย มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ลำปาง มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา น่าน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาลัยชุมชนแพร่ และวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน เป็นเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษารู้เท่าทันปัญหาแอลกอฮอล์ภาคเหนือตอนบนปีที่ 2
จากการลงนามความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดโครงการย่อยกว่า 50 โครงการ และได้สร้างการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 2,000 คน โดยมีรูปแบบกิจกรรม คือ สร้างเครือข่ายแกนนำบุคลากรและแกนนำนักศึกษา ในการป้องกันและลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบนอย่างมีศักยภาพและต่อเนื่อง รวมไปถึงขับเคลื่อนกระบวนการรณรงค์ป้องกันและแก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งเสริมกิจกรรมป้องกันปัจจัยเสี่ยงของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สนับสนุนมาตรการนโยบายและการจัดกิจกรรมในการขับเคลื่อน ผลักดัน กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการควบคุมร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งภายในสถาบันและรอบสถาบันการศึกษา และรณรงค์การไม่ดื่ม การงดดื่มในที่สาธารณะขณะแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษา ผ่านทางสื่อต่างๆ และสร้างความร่วมมือกับชุมชนรอบสถาบันอุดมศึกษา งดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่นิสิตนักศึกษาและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี
ทั้งนี้การดำเนินโครงการสามารถบ่งบอกจำนวนโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการได้ แต่ไม่สามารถลดจำนวนนักดื่มลงได้ 100% ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดคือ การสร้างความตระหนักรู้แก่เยาวชน ให้ตระหนักถึงโทษภัยอันตรายของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยังคงต้องอาศัยพลังอันเข้มแข็งจากภาคีเครือข่ายร่วมศึกษาเอง ชุมชนใกล้เคียง องค์กรทุกภาคส่วน ร่วมกันพัฒนาโครงการในครั้งต่อๆไป เพื่อรณรงค์ต่อสู้สร้างความตระหนักรู้และสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชนอนาคตของชาติ ให้ห่างไกล พิชิตชัยแอลกอฮอล์ อย่างมีศักยภาพและยั่งยืนต่อไป
*******************
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่-ข่าว/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น