อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นคว้าสารเซซามินจากงาดำ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งที่เป็นต้นกำเนิดของโรคต่างๆ ปัจจุบันได้ทำการจดสิทธิบัตรไปแล้ว 3 ประเทศ คือไทย สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย พร้อมสร้างรายได้กว่า 30 ล้านบาทตอบแทนให้กับมหาวิทยาลัยในอีก 4 ปีข้างหน้า

"ที่ผ่านมาได้รับทุนสนับสนุนจาก “ทุนวิจัยรางวัลเซเรบอส” (Cerebos Awards) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการวิจัยนวัตกรรมทางเคมี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะแพทยศาสตร์ จนกระทั่งในปี 2559 มีผู้ป่วยทั่วโลกให้ความสนใจสารเซซามินจากงาดำที่สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันได้ทำการจดสิทธิบัตรไปแล้วทั้งหมด 3 ประเทศ ได้แก่ไทย สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่จับต้องได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและเป็นประโยชน์กับคนทั่วโลก" ศ.ดร.ปรัชญากล่าว และว่า โครงการนี้สามารถสร้างรายได้ตอบแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้วกว่า 7 ล้านบาท คาดว่าปี 2564 จะสร้างรายได้เข้ามหาวิทยาลัยได้ถึง 30 ล้านบาท
ศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา กล่าวด้วยว่า ในอนาคตหวังว่ามหาวิทยาลัยต้องลดการพึ่งพารายได้จากการเรียนการสอนลงไป แต่เน้นไปที่การทำงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศ และสามารถนำนวัตกรรม งานวิจัย มาผลิตและสร้างรายได้ มหาวิทยาลัยต้องเน้นรายได้จากการวิจัยที่สร้างนวัตกรรมและนำไปสู่เชิงพาณิชย์ออกมาทำใช้ได้จริง ส่งออกได้จริง ลดต้นทุนได้จริง นำพาประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งรายได้สำคัญของมหาวิทยาลัยด้วย มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษาต้องรับนักศึกษาให้ลดลงแต่มีคุณภาพเข้มข้น ขณะเดียวกันอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องหาเงินทุนวิจัยจากภาคเอกชนให้ได้มากขึ้น เพื่อนำมาจ้างนักศึกษาระดับบัณฑิต
*************************
ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช.-ข่าว/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น