ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ คณบดีวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (adiCET) กล่าวึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมครั้งนี้ว่า เพื่อต่อยอดความร่วมมือระหว่าง Office of Naval Research (ONR) ประเทศสหรัฐอเมริกา กับวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมทั้งพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอัจฉริยะ Smart & Green Campus และเพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยสำหรับเป็นแบบอย่าง Smart Campus ในการขยายเครือข่ายการวิจัยกับมหาวิทยาลัยในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ต่อไป
สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมมีจำนวน 37 คน จาก 16 หน่วยงาน 8 ประเทศ ได้แก่ Ministry of Energy, Manpower, Industry ประเทศบรูไน Institute of Technology of Cambodia ประเทศกัมพูชา Chemical Engineering Department, Universitas Gadjah Mada ประเทศอินโดนีเซีย Universiti Teknologi MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย De La Salle University ประเทศฟิลิปปินส์ Ho Chi Minh City University of Technology (HCMUT) ประเทศเวียดนาม Office of Naval Research ประเทศสหรัฐอเมริกา Hawaii Natural Energy Institute, University of Hawaii ประเทศสหรัฐอเมริกา และจากประเทศไทย ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ National Metal and Materials Technology Center (MTEC) , สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ National Science and Technology Development Agency (NSTDA) , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT) , บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี The Joint Graduate School of Energy and Environment King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT) , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย , มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าวได้จัดให้มีการบรรยายและเยี่ยมชนฐานความรู้ ประกอบด้วย อาคารประหยัดพลังงาน Energy Efficient Buildings บ้านอัจฉริยะและรถไฟฟ้า Smart Home with EV ชุมชนอัจฉริยะ Smart Community การปลูกผักใต้พื้นที่แผงและฟาร์มอัจฉริยะ Agrovoltaic/Smart farm ศูนย์พลังงานชีวภาพหมุนเวียนเพื่อมุ่งสู่ชุมชนปลอดขยะ BioEnergy Cycle Center – Zero Waste อาคารพลังงานแสงอาทิตย์ 700kW BioEnergy Cycle Center และถนนขยะจากบล็อกขยะพลาสติก Recycled Road Blocks from Waste Plastics ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ผลิตบล๊อกปูถนนที่มีชื่อย่อของตนเอง และนำไปปูทางเดินบริเวณทางขึ้นอาคาร 700kW อีกด้วย
*******************
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-ข่าว/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น