All online

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ข่าว ; คณะแพทย์ มช.ขับเคลื่อนงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงพาณิชย์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักร ชิ้นส่วนโลหะ  และอุตสาหกรรมสนับสนุนไทย ประชุมขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 พร้อมรับมอบแผ่นวัดการกระจายแรงกด ท่านอน ซึ่งเป็นครุภัณฑ์สนับสนุนการวิจัยทางการแพทย์ จากนายภานุวัฒน์ ตรียางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะผู้แทนสมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรมสนับสนุน เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้และผลิตงานวิจัยของภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องอุปกรณ์เสริมเตียงที่นอนลมช่วยพลิกตัวอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และเก้าอี้ป้องกันรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม โอกาสเดียวกันนี้ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือเรื่อง กิจกรรมขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือระหว่าง สมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรมสนับสนุนไทย และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่  ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางการแพทย์  รวมถึงสภาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์สำหรับผู้พิการ ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมให้การสนับสนุนผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์ ไม่ว่าจะด้านการพยาบาลและภาควิชาต่างๆ เพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์ พัฒนาไปสู่การใช้ได้จริงและสามารถนำไปสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งที่ผ่านมาอาจารย์แพทย์หลายคนได้ศึกษาด้านวิศวกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ ในภาควิชาออร์โทปิดิกส์หรือภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อที่จะนำนวัตกรรมทางการแพทย์เข้ามาใช้ได้จริงกับผู้ป่วย โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อนึ่ง  "แผ่นวัดการกระจายแรงกด ท่านอน" ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับในครั้งนี้ มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น สามารถวัดท่านั่ง ท่านอนได้ดีขึ้น โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นเซ็นเซอร์ที่ต่อจากคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลหน้าจอให้เห็นว่าผู้ป่วยนอนในระดับใด สีจะถูกเปลี่ยนไปเมื่อมีแรงกดทับ อย่างไรก็ตาม จะไม่สามารถคิดและต่อยอดนวัตกรรมได้หากปราศจากทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกัน และหวังว่าการขับเคลื่อนในครั้งนี้จะเป็นจะนำไปสู่งานวิจัยนวัตกรรมต้นแบบที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ประเทศไทยได้มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ในราคาที่เหมาะสมในอนาคต

****************

www.jupjib.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น