นางธนวดี ท่าจีน
ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง
เรียกร้องให้ชายไทยไม่สูบบุหรี่ภายในบ้าน เพื่อเป็นของขวัญ ในโอกาสวันสตรีสากล 8 มีนาคม
เพื่อลดการได้รับควันบุหรี่มือสองในหญิงไทย
โดยแม้หญิงไทยร้อยละ 98
จะไม่สูบบุหรี่ แต่ก็ได้รับควันบุหรี่ในบ้านระดับที่สูงมาก
จากผลสำรวจทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ.2554
พบว่ามีประชากรหญิงและชายอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ไม่สูบบุหรี่ 11.6
ล้านคน ได้รับควันบุหรี่ในบ้าน
ในจำนวนนี้ 8.4
ล้านคนเป็นเพศหญิง โดยหญิงภาคใต้ได้รับควันบุหรี่ในบ้านด้วยอัตราที่สูงสุดคือ 43.5% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
29.0% ภาคเหนือ
25.9% ภาคกลาง
27.6% และต่ำสุดใน กทม. 13.2%
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ
เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า
ควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง 70 ชนิด
สารพิษ 250 ชนิด
จึงเป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุดในบ้าน
และสารพิษจะลอยวนเวียนอยู่นานนับชั่วโมงภายหลังที่มีการสูบบุหรี่
และสามารถจะวัดสารพิษได้
แม้จะไม่มีกลิ่นบุหรี่แล้วก็ตาม
การได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบหรือควันบุหรี่มือสองทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ ทั้งการเป็นมะเร็งปอด โรคเส้นเลือดหัวใจและสมอง เกิดอาการหืดจับ และการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก ทั้งนี้
การวิเคราะห์ฐานข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า
ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสองปีละหกแสนคน ในจำนวนนี้เกือบครึ่งหนึ่งหรือ 47% เป็นผู้หญิง 25% เป็นผู้ชาย และ 28% เป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
โดยเมื่อแยกแยะแล้วพบว่าเป็นการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 379,000 คน
โรคหอบหืด 36,900 คน มะเร็งปอด
21,400 คน และการติดเชื้อในปอด 165,000
คน การไม่สูบบุหรี่ในบ้าน
นอกจากจะลดโอกาสที่คนในบ้านจะเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองแล้ว ยังทำให้ผู้สูบบุหรี่สูบน้อยลง
เลิกสูบได้ง่ายขึ้น
ลดโอกาสที่ลูกจะติดบุหรี่
และลดโอกาสไฟไหม้บ้านด้วย
ที่มา - ศูนย์ข่าว
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น