หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ข่าว ; สรุปคำบรรยาย กงสุลใหญ่จีน งานพบปะสื่อมวลชน

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 นายเหริน ยี่เซิง กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ พร้อมคณะ ภายใต้การประสานงานโดย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 ได้จัดกิจกรรมพบปะสื่อมวลชน ภายใต้หัวข้อ ความสำเร็จอันรุ่งโรจน์ครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน กับ ความร่วมมือระหว่างประเทศ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ โดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย นางระพีพร มีสอาด ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 พร้อมด้วยผู้บริหารในสังกัด สปข.3 และสื่อมวลชนสาขาต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ นำโดย นายอินสม ปัญญาโสภา นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคเหนือแห่งประเทศไทย และผู้บริหารหนังสือพิมพ์ "ไทยนิวส์" หนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ 

นายเหริน ยี่เซิง กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ ได้บรรยายสาระสำคัญภายในงาน ซึ่งมี 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย ประเด็นแรก ความสำเร็จอันรุ่งโรจน์ของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา ประเด็นที่สอง การริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ที่ได้มีความคืบหน้า และ ประเด็นที่สาม จีน - ไทย (ภาคเหนือ) จะร่วมมือที่เป็นมิตรอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบของ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" และความร่วมมือต่อกัน

กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ กล่าวถึงประเด็นแรก เรื่อง ความสำเร็จอันรุ่งโรจน์ของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วง 70 ปีที่ผ่านมาว่า
ในปี ค.ศ. 2019 เป็นปีที่ครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นปีที่สำคัญสำหรับคนจีนที่จะได้รับชัยชนะในการสร้างสังคมอยู่ดีกินดีในทุกด้านและบรรลุเป้าหมาย "หนึ่งร้อยปี" เป็นครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วย
ลุกยืนขึ้นมา ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949 รัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ก่อตั้งขึ้นมา ซึ่งใน 100 กว่าปีที่ผ่านมาหลังจากสงครามฝิ่นในปี ค.ศ.1840 สิ้นสุดลง ประเทศจีนได้รับความเสียหายจากการรุกราน ได้รับความเดือดร้อนจากความหายนะและความวุ่นวายของสงคราม หลังจากนั้นคนจีนได้ยืนขึ้นต่อสู้และเริ่มเข้าสู่ความเป็นอิสระ ความเป็นประชาธิปไตย มีความสามัคคีและความเจริญรุ่งเรือง จีนใหม่มีความยากจน วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ที่ล้าหลัง หลายๆสิ่งถูกทิ้งไว้รอการสร้าง พรรคคอมมิวนิสต์จีนอาศัยประชาชนหลายกลุ่ม พึ่งพาตัวเองในการทำงานอย่างหนัก รักษาบาดแผลจากสงคราม ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ สร้างระบบสังคมนิยม และดำเนินการก่อสร้างทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และได้สร้างความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งสู่สายตาชาวโลกให้กับประเทศจีน ขณะเดียวกันการพัฒนาของประเทศจีนใหม่ได้พบกับความยากลำบากและความล้มเหลว ในช่วงปลายปี 1970 การพัฒนาของประเทศจีนถดถอยลง มาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนต่ำมาก
ประเทศมั่นคงขึ้นมา ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1978 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 3 ชุดที่ 11 ได้สรุปประสบการณ์เชิงบวกและลบ ของการก่อตั้งสังคมนิยมของจีนอย่างลุ่มลึก โดยตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ในการปฏิรูปและการเปิดประเทศ โดยได้กำหนดหน้าที่หลักของพรรคคือสร้างสรรค์เศรษฐกิจ นายเติ้ง เสี่ยวผิง เป็นหัวหน้าสถาปนิกที่แท้จริงในการปฏิรูปและการเปิดประเทศจีน
ประเทศที่เข้มแข็งขึ้นมา ตั้งแต่การประชุมสมัชชาครั้งที่ 18 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2021 เป็นต้นมา ภายใต้การนำที่แข็งแกร่งของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยมีนายสี จิ้นผิง เป็นเลขาธิการใหญ่ พรรคและกิจการของรัฐประสบความสำเร็จในประวัติศาสตร์ มีการการปฏิรูปทางประวัติศาสตร์ สังคมนิยมแบบมีอัตลักษณ์จีนได้เข้าสู่ "ยุคสมัยใหม่"
ปีแห่งการปฏิรูปและเปิดประเทศ อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของเศรษฐกิจจีนอยู่ที่ 9.9% ซึ่งอัตราการเติบโตเป็นเลขสองหลักมานานกว่า 30 ปี และผลผลิตทางเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มขึ้น 225 เท่าตัวซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในโลก
การประชุมสมัชชาครั้งที่ 19 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดขึ้นในเดือนตุลาคมปี ค.ศ.2017 ประเทศจีนกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศคือดำเนิน 2 ช่วง 3 ระยะ เพื่อให้บรรลุ "หนึ่งร้อยปี" สองเป้าหมายแห่งศตวรรษ ภายในปี ค.ศ.2021 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีอายุครบรอบ 1 ศตวรรษ จีนตั้งเป้าจะสร้างประเทศจีนให้เข้าสู่สังคมพอกินพอใช้อย่างรอบด้าน ในปี ค.ศ. 2035 จะสร้างประเทศให้เป็นประเทศที่ทันสมัย ในโอกาสครบรอบ 1 ศตวรรษ ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 2049 จะสร้างประเทศให้เป็นแบบประชาธิปไตยและสังคมนิยมให้เข้มแข็ง และจะบรรลุความฝันของจีนในการฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองอันยิ่งใหญ่ของประชาชาติจีน
ในช่วงเวลาเพียง 70 ปีเท่านั้น จีนใหม่เริ่มต้นจากจุดที่มีความยากจน วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ที่ล้าหลัง จากการฟันฟ่าต่อสู้ที่เด็ดเดี่ยว จนกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการนำเข้าส่งออกสินค้า เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสินค้าบริโภค มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าสู่ประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และมีเงินตราต่างประเทศสำรองอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายปี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 16 % ของ GDP ของโลก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราคุณูปการพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกสูงถึงประมาณ 30% ซึ่งเป็นผลรวมของสหรัฐอเมริกายุโรปและญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่ยากเย็นสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา อยู่ที่มีจุดเริ่มต้นต่ำ รากฐานที่อ่อนแอ และประชากรเกือบ 1.4 พันล้านคน
ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในต้นปี 1950 GDP ของจีนทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 68 พันล้านหยวน เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 29 ดอลลาร์ ในปี 1978 GDP ของจีนทั้งหมดมีเพียง 367.8 พันล้านหยวนและเฉลี่ยต่อหัวที่ 385 ดอลลาร์ ในปี 2018 GDP รวมของจีนสูงถึง 90 ล้านล้านหยวน (เทียบเท่า 13.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 9,900 ดอลลาร์สหรัฐ ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเรื่อยๆ มีความสุข และต่างก็รู้สึกมีความปลอดภัยมากขึ้น
จากระยะแรกของการก่อตั้งประเทศจีนใหม่ ประชาชนทั่วประเทศอาศัยอยู่ในความยากจน ในปี 1978 ประชากรที่ยากจนในชนบทมีจำนวน 770 ล้านคนทั่วประเทศ จนถึง ปี 2018 จำนวนคนยากจนในชนบทลดลงเหลือ 16.6 ล้านคน ซึ่งขณะนี้จีนกำลังต่อสู้กับความยากจนและจะช่วยเหลือประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนอย่างสมบูรณ์ อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อภายในปี 2020 ดังนั้นประเทศจีนจึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยโลกลดจำนวนประชากรยากจนลง
การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในปี 1978 ถนนของจีนมีระยะทาง 890,000 กิโลเมตร ปัจจุบันมีระยะทางถึง 4.77 ล้านกิโลเมตร ก่อนปี 1988 ประเทศจีนไม่มีทางด่วน แต่ตอนนี้ทางด่วนมีระยะทางถึง 130,000 กิโลเมตร โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 26.6% ต่อปี ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในปี 1978 ระยะทางรถไฟของจีนอยู่ที่ 50,000 กิโลเมตร ปัจจุบันมีระยะทางถึง 130,000 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงขนวบแรกเปิดทำการในปี 2008 และปัจจุบันระยะทางรถไฟความเร็วสูงมีถึง 27,000 กิโลเมตร คิดเป็น 60% ของรถไฟความเร็วสูงของโลก ภายในปี 2020 เครือข่ายทางรถไฟจะมีถึง 150,000 กิโลเมตร รวมถึงรถไฟความเร็วสูง 30,000 กิโลเมตร ครอบคลุมมากกว่า 80% ของเมืองใหญ่
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด อย่างเช่นอินซูลินวัวสังเคราะห์, ตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูง, ฟิสิกส์นิวตริโน, ผลกระทบควอนตัมผิดปกติ, นาโนเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานอื่น ๆ "ขีปนาวุธ ระเบิดนิวเคลียร์ ดาวเทียมเทียม", ข้าวไฮบริด ความสำเร็จด้านวิศวกรรมเช่นคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของจีนได้รับการสนับสนุนอย่างมาก นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศจีนได้กลายเป็นประเทศสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการวางรากฐานที่สำคัญของโลก
ในปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ข้อมูลขนาดใหญ่ Cloud Computing ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล  เศรษฐกิจแพลตฟอร์มและพัฒนาความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจร่วมกัน รักษาการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก เช่น ชีววิทยา ดาวเทียม ยานอวกาศ การสำรวจดวงจันทร์ ระบบนำทางด้วยดาวเทียม Beidou การสำรวจทะเลลึก พลังงานใหม่ รถไฟความเร็วสูง เครื่องบินโคแม็ก ซี 919 เรือบรรทุกเครื่องบิน อากาศยานไร้คนขับ หัวเว่ย 5G เป็นต้น
70 ปีแห่งความสำเร็จอันรุ่งโรจน์ของจีนไม่ใช่สวรรค์ประทานลงมา แต่เป็นทั้งพรรคและประชาชนทุกชนชาติในประเทศทำการสำรวจอยู่ตลอดเวลา ร่วมกันต่อสู้ สร้างนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง กล่าวว่า "เราใช้เวลาหลายทศวรรษในการทำงานผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วได้ผ่านมาหลายร้อยปี ในมือของคนจีนคำว่าเป็นไปไม่ได้จะต้องกลายเป็นไปได้ เรารู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่คนจีนสร้างความมหัศจรรย์ให้กับมนุษยชาติ"
แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนดีขึ้น ประการแรก จะรักษาอัตราการเติบโตในระดับปานกลางและสูงอย่างต่อเนื่องให้เป็นเวลานาน ในปี 2018 แม้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจะซบเซา แต่สหรัฐฯได้กระตุ้นให้เกิดสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐขึ้น บวกกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนแรงงานและต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน ทำให้เศรษฐกิจของจีนกำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างมาก แต่เศรษฐกิจของจีนยังคงเติบโตที่ 6.6% และผลผลิตทางเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับผลผลิตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่ในระดับปานกลาง ในปี 2019 ประเทศจีนรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปีอยู่ที่ 6.0% ถึง 6.5% และการดำเนินงานทางเศรษฐกิจเริ่มต้นได้อย่างราบรื่น ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจขยายตัวถึง 6.4%   ประการที่สองความคิดการพัฒนาของจีนกำลังเปลี่ยนแปลงและก้าวไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพสูงขึ้น ไม่ติดตามอัตราการเติบโตของGDP รักษาสมดุลทางเศรษฐกิจให้อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ต่อไปในอนาคต การพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนจะมีการขึ้นสูงบ้างและต่ำลงบ้างก็ถือเป็นเรื่องปกติ ประการที่สามความยืดหยุ่นของการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอยู่ในสามปัจจัย คือ  เชื่อมั่นหนักแน่น ความเชื่อมั่นสำคัญกว่าทองคำ เมื่อมองเห็นศักยภาพอัตราการขยายตัวของเมืองเพียง 55% ยังคงมีพื้นที่กว้างอีกมาก  GDP ต่อหัวอยู่ที่ 9,900 ดอลลาร์สหรัฐ น้อยกว่าของสหรัฐ 20% มีแรงผลักดันเติบโตอย่างเต็มที่

ประเด็นที่ 2 ข้อริเริ่มและพัฒนาการของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI)

ภูมิหลังและสาระสำคัญ
ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่ม “เส้นทางสายไหมทางเศรษฐกิจ” และ “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21”  ณ คาซัคสถาน และ อินโดนีเซีย เมื่อเดือน กันยายน และ ตุลาคม ปี ค.ศ. 2013  ซึ่งได้รับความสนใจจากสังคมโลกเป็นอย่างสูง แนวคิดหลักความร่วมมือในระดับนานาชาติของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  ได้แก่  ร่วมกันหารือ  สร้างสรรค์  และ แบ่งปัน  โดยทำให้โครงการเป็นผลทางรูปธรรม ร่วมกันสร้าง ร่วมกันลงทุนลงแรง และแบ่งปันผลสำเร็จในการทำงานร่วมกัน โดยมีหลักการ 4 ข้อ  ได้แก่  1) ยืนหยัดในการเปิดประเทศและร่วมมือ  2) ยืนหยัดในการประสานอย่างสันติสุขและครอบคลุม  3) ยืนหยัดในการปฏิบัติงานตามหลักการตลาด  4) ยืนหยัดในการสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน
BRI มีความเชื่อมโยงกับโลก 5 ด้าน ได้แก่ นโยบาย สาธารณูปโภค การค้า การเงิน และ ประชาชน  เน้นพัฒนาจากจุดเป็นแหล่ง  แล้วจากแถบถึงเส้น  จนกระทั่งสร้างกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาค
เชื่อมโยงนโยบาย ผลักดันการเชื่อมโยงนโยบายระหว่างกัน เป็นพื้นฐานสำคัญของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยแต่ละประเทศมียุทธศาสตร์การพัฒนาของตัวเอง จีนจึงมีนโยบายที่สร้างความเชื่อมโยงในระดับนโยบายของรัฐ  เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันด้านการกำหนดนโยบายในแต่ละระดับ  เช่น  พัฒนาเศรฐกิจ  เศรษฐศาสตร์มหภาค โครงการขนาดใหญ่ ฯลฯ บูรณาการทุกภาคส่วน สร้างโชคชะตาร่วมกันสำหรับมวลมนุษยชาติ
เชื่อมโยงสาธารณูปโภค ความเชื่อมโยงของโครงสร้างสาธารณูปโภค เป็นแหล่งที่ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ต้องส่งเสริมเป็นอันดับแรก  เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง รวมไปถึงความเชื่อมโยงในทุกช่องทางทั้งทางอากาศ ทางน้ำ   เสริมสร้างช่องทางด้านคมนาคม  ทรัพยากร  และสารสนเทศในระดับนานาชาติ  เติมเต็มแหล่งที่ขาดแคลน  ยกระดับความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร  รวบรวมเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก  ยุโรป และประเทศส่วนกลางที่มีศักยภาพ เป็น ประชาคมที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
เชื่อมโยงการค้า ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน เป็นประเด็นสำคัญในการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  จีนจะจัดตั้งระบบเครือข่ายการค้าเสรีร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน  ขยายเขตการค้าอย่างเป็นรูปธรรม  พัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรม  คุณค่า  อุปทาน และบริการ  ให้เกิดการเอื้ออาทรระหว่างประเทศที่อยู่ในหนึ่งแถบหนึ่งเส้น  วิเคราะห์หารือรูปแบบในการพัฒนา  สร้างระบบเศรษฐกิจเปิดกว้างแบบ win-win  เสมือภาพด้วยประสิทธิภาพอย่างสูง
เชื่อมโยงการเงิน ความเชื่อมโยงทางการเงิน เป็นเสาหลักของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  เสริมสร้างระบบเงินตราที่มั่นคง ระบบจัดหาเงินทุน  และระบบ credit  ของเอเชีย  เพิ่มความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาธนาคาร  AIIB  และ BRICS Development Bank   ใช้ประโยชน์ของกองทุนเส้นทางสายไหม และกองทุนของแต่ละประเทศอย่างเต็มที่
เชื่อมโยงประชาชน ความเชื่อมโยงในระดับประชาชน เป็นรากฐานทางสังคมของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  ประเทศจีนจะเปิดประเทศได้มากยิ่งขึ้นก็ต่อเมื่อวัฒนธรรมได้มีความยอบรับจากประเทศทั่วโลก  เพื่อส่งเสริม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เข้าสู่จำนวนประเทศมากยิ่งขึ้น  เน้นความร่วมมือภายใต้อุดมการณ์ของ “เส้นทางสายไหม”  ส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
ทางบก: เน้นประเทศที่อยู่บนหนึ่งแถบหนึ่งเส้นเป็นหลัก  สร้างพลาสฟอร์มร่วมนิคมเศรษฐกิจและการค้า  พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจนานาชาติระหว่างจีน-มองโกเลีย-รัสเซีย  จีน-ภาคกลางเอเชีย-ภาคตะวันตกเอเชีย  จีน-อินโดจีน และเส้นทางยูเรเชียใหม่
ทางทะเล:เน้นพัฒนาท่าเรือที่สำคัญ  สร้างระบบขนส่งที่มีความปลอดภัยด้วยประสิทธิภาพสูง

วัตถุประสงค์ของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
จีนเสนอข้อริเร่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  โดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลสำเร็จดีเด่นระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน  หารือโครงการลงทุน  และเสริมสร้างสาธารณูปโภค
มีภาระกิจสามข้อสำคัญดังนี้
1) ค้นหาแนวทางการเติบโตของเศรษฐกิจ  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นนวัตกรรมที่จีนเปิดกว้างในทุกทิศทาง  โดยนำข้อดีด้านการผลิต  เทคโนโลยี  การเงิน  และรูปแบบ เข้าสู่ตลาดและความร่วมมือในด้านต่างๆ
2) สร้างโลกาภิวัตน์อย่างสมดุลอีกครั้ง  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ส่งเสริมพัฒนาไปทางทิศตะวันตก  รวมเอเชียกลาง  มองโกเลีย และภูมิภาคอื่นๆ  เผยแพร่แนวคิดพัฒนาอย่างครอบคลุมความหลากหลายภายใต้โลกาภิวัตน์   พัฒนาเป็นโลกที่มีสันติสุข ความปลอดภัย และเจริญรุ่งเรื่องอย่างต่อเนื่อง
3) บุกเบิกรูปแบบความร่วมมือในระดับภูมิภาค  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เน้นหารือ  สร้างสรรค์  และแบ่งปันอย่างมีส่วนร่วม  เป็นแผนพัฒนาที่เหนือกว่าแผนมาร์แชลล์  แผนช่วยเหลือธรรมดาและแผนก้าวออกไปในอดีต นำแนวคิดร่วมมือใหม่ในระดับนานาชาติเข้าสู่ศตวรรษที่ 21

ผลสำเร็จของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
เสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ตั้งแต่ 6 ปีที่ผ่านมา  กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดของโลก  ปัจจุบันนี้  มี 123 ประเทศ และ 29 องค์กรโลกร่วมลงนามในหนังสือความร่วมมือของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  6 ปีที่ผ่านมา  จีนกับประเทศที่อยู่ในหนึ่งแถบหนึ่งเส้น  มีมูลค่าการค้าเกิน 6 ล้านล้านดอลลาร์  และมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์  ร่วมสร้างเขตร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านกว่า 82 แห่ง  เพิ่มโอกาศการทำงานเกือบ 3 แสนตำแหน่ง  มอบโอกาสพัฒนาให้กับประเทศทั้งหลายเป็นอย่างมาก  การวิ่งขบวนรถไฟจีน-ยูโรปมีมากกว่า 1 หมื่น 3 พัน ครั้ง  สร้างมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกถึง 1 หมื่น 7 พัน ล้านดอลลาร์  ประชาชนทั่วไป  ต่างก็รู้สึกมีความสุข  มีส่วนได้ส่วนเสีย  และมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ
พัฒนา “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูง  เป็นเป้าหมายหลักในระยะถัดมา  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูง  สามารถผลัดดันเศรษฐกิจโลกอย่างมีกำลัง  ตอบสนองความต้องการของการเติบโตทางเศรษฐกิจ  เป็นธรรมชาติของเศรษฐกิจจีนที่เติบโตด้วยคุณภาพสูง  เป็นระยะที่ปรับเปลี่ยนโฉมหน้า “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  จาก “กรอบรูปแบบ” เป็น “งานแกะสลัก”
ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) จัดตั้งเมื่อเดือน มกราคม ปี ค.ศ. 2016  สำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง โดยมีทุนจดทะเบียน 1 แสนล้านดอนล่า  มีสมาชิก 57 ประเทศ  รวมประเทศไทย  เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ปี ค.ศ. 2018  สมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 93 ประเทศ  AIIB กลายเป็นองค์การการเงินพหุภาคีรองลงจากธนาคารโลก  ปัจจุบันนี้ได้เข้าร่วม 28 โครงการ และปล่อยเงินกู้มากกว่า 5 พัน 3 ร้อย 4 สิบ ล้านดอนล่าในการสร้างสาธารณูปโภค
กองทุนเส้นทางสายไหมในระยะเริ่มแรก มีเงินทุนมากถึง 1 แสนล้านหยวน  จีนจะนำเงินทุนของตนเองสนับสนุนโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้น” โดยตรง  โครงการของกองทุนเส้นทางสายไหมส่วนใหญ่ลงทุนอยู่ที่ประเทศหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทั้งทางบกและทางทะเล  ปัจจุบัน  ได้ลงนามไปเกือบ 30 โครงการ  และวงเงินลงทุนมากกว่า  1 หมื่น 1 พันล้านดอนล่า
มหกรรมนำเข้าสินค้านานาชาติจีน  เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2018 มหกรรมนำเข้าสินค้านานาชาติจีนครั้งที่ 1 จัดขึ้น ณ นครเซี่ยงไฮ้  โดยมีระยะเวลาจัดงานเป็น 6 วัน  มีบริษัทเกือบ 3000 แห่งจาก 130 ประเทศเข้าร่วม  มหกรรมนี้แต่งตั้งเวทีให้กับสินค้าจากแต่ละประเทศเข้าสู่จีน  เปิดช่องทางใหม่ให้ส่งออกสินค้าไปจีน และในเดือน พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2019  จีนจะจัดมหกรรมนำเข้าสินค้านานาชาติครั้งที่ 2 ณ นครเซี่ยงไฮ้ โดยวางแผนจัดตั้งพื้นที่แสดงสินค้ากว่า  3 แสนตารางเมตร  เพิ่มขึ้นจากเดิม  3 หมื่นตารางเมตร  เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา  มีบริษัท  1,800 กว่าแห่งสมัครเข้าร่วม  ปัจจุบัน  การเตรียมงานมหกรรมนำเข้าสินค้านานาชาติครั้งที่ 2 ได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย  และได้ดึงดูดบริษัทชื่อดังกว่า 250 แห่งที่อยู่ในอันดับ 500 บริษัทนำของโลกเข้าร่วม


การประชุมสุดยอดฟอรั่มความร่วมมือนานาชาติ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้น”
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2017 การประชุมสุดยอดฟอรั่มความร่วมมือนานาชาติ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้น” ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง มีผู้นำและหัวหน้ารัฐบาลจาก 29 ประเทศเข้าร่วม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 1,500 คน จากกว่า ๑๓๐ ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 70 แห่งครอบคลุมภูมิภาคหลักทั้งหมดของห้าทวีป
ตั้งแต่วันที่ 25-27 เมษายนปีนี้ การประชุมสุดยอดฟอรั่มความร่วมมือนานาชาติ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้น” ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จากหัวข้อฟอรั่มคือ “Belt and Road Shared Future” ในระหว่างการประชุมสุดยอดฟอรั่มนี้ ได้มีการจัดพิธีเปิดการประชุมผู้นำโต๊ะกลม การประชุมระดับสูง แบ่งการประชุมย่อย 12 ครั้งและการประชุมผู้ประกอบการ 1 ครั้ง รวมถึงประเทศจีนผู้นำและหัวหน้ารัฐบาลจาก 38 ประเทศ รวมไปถึงเลขาธิการสหประชาชาติและประธานกองทุนการเงินระหว่างประเทศทั้งหมด 40 คนเข้าร่วมการประชุมผู้นำโต๊ะกลม มีแขกจากต่างประเทศมากกว่า 6,000 คน จาก 150 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 92 แห่งเข้าร่วมในการประชุมฟอรัม ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คณะผู้บริหารระดับประเทศหลายท่าน ก็เข้าพบและพูดคุยกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง พร้อมผู้บริหารระดับสูงของจีนอีกด้วย
ภายใต้การดูแลและแนะนำของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเชิงลึกเกี่ยวกับการริเริ่มโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยทั่วไปเชื่อว่าจะเป็นหนทางสู่โอกาส ซึ่งได้บรรลุถึงข้อตกลงในวงกว้างเกี่ยวกับการประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จของโครงการ
ในการกล่าวปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิดนั้น ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เน้นว่า โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพระดังสูง ซึ่งต้องรักษาหลักการของการร่วมกันก่อสร้างและร่วมกันแบ่งปันยึดมั่นในการเปิดกว้างแนวคิดของสีเขียวและสะอาด เพื่อบรรลุมาตรฐานระดับสูง เป็นประโยชน์ต่อผู้คนและบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เน้นว่า กุญแจสำคัญในการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” คือการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศและระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน จำเป็นต้องสร้างพันธมิตรเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศและระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และบรรลุการพัฒนาร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วผู้เข้าร่วมจะสนับสนุนสิ่งนี้ร่วมกัน ตกลงที่จะอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์แบบพันธมิตร ตามที่หลายฝ่ายร่วมกันส่งเสริมเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศและระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง ยั่งยืน ทนกับความเสี่ยง ราคาไม่แพง สามารถรองรับโครงสร้างพื้นฐาน โดยการเสริมสร้างนโยบาย กฎระเบียบ มาตรฐานของนานาประเทศโดยการ "เชื่อมโยงซอฟต์แวร์" ฝ่ายจีนเป็นผู้นำในการสรุปคู่สัญญาของทั้งสองฝ่ายที่เป็นรูปธรรม ที่ทำไปแล้วถึง 283 ราย จีนได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงปฏิบัติระหว่างรัฐบาลกับประเทศที่เกี่ยวข้องในทางเดินเศรษฐกิจ จีน - พม่า และทางรถไฟ จีน – ไทย ทุกฝ่ายร่วมกันริเริ่มและจัดตั้ง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลมาตรฐานแห่งชาติและ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อรับมือกับแผนการความร่วมมือระหว่างรเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประด้อยพัฒนา บริษัท ต่าง ๆ ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับขีดความสามารถและความร่วมมือด้านการลงทุน จีน อิตาลี และประเทศอื่น ๆ ร่วมกันจัดตั้งกองทุนความร่วมมือรูปแบบใหม่ ขยายโครงการลงทุนและจัดหาเงินไปยังตลาดที่สาม
การประชุมผู้ประกอบการเป็นการวางสร้างโฉมหน้าใหม่ของการประชุมสุดยอดฟอรัมครั้งที่ 2 มีเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์การระหว่างประเทศ ผู้แทนองค์กร ตัวแทนสมาคมธุรกิจ ผู้ประกอบการจีนและต่างประเทศที่มีชื่อเสียงจำนวน  800 คนเข้าร่วม มากกว่า 80 ประเทศและภูมิภาค มีบริษัทจีนและต่างประเทศจรจาและลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้วยมีมูลค่ารวมกว่า 64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้แสดงให้เห็นโอกาสขนาดใหญ่ทางธุรกิจ
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกล่าวว่าโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เกิดขึ้นในประเทศจีน แต่โอกาสและความสำเร็จนั้นเป็นของโลก ในฐานะเจ้าภาพ จะยึดมั่นในหลักการของการสร้างและการแบ่งปันร่วมกัน ยึดมั่นในแนวคิดของการเปิดกว้างและโปร่งใส รักษาการเชื่อมสัมพันธ์และประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการประชุมอย่างใกล้ชิด หวังว่าการประชุมสุดยอดฟอรั่มครั้งที่ 2 จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อสรุปประสบการณ์ วางแผนสำหรับอนาคต และสร้างฉันทามติ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อการพัฒนาคุณภาพให้ที่สูงยิ่งขึ้น

ประเด็นที่ 3 การส่งเสริมความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างจีนและไทย (ภาคเหนือ)
มิตรภาพระหว่างจีน – ไทย กับความร่วมมือในเชิงลึก
ประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อทางบกและทางทะเลในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นข้อดีของสถานที่ตั้งอย่างชัดเจน ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้าน การบิน ทางหลวง ทางรถไฟ ท่าเรือที่สมบูรณ์แบบ และประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องได้รับการยกระดับ
"จีน – ไทย พี่น้องกัน" ฝังลึกลงไปในใจของประชาชนทั้งสองประเทศ มีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันในกลยุทธ์ของทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพิ่มความร่วมมือในทางปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้น และประเทศไทยกำลังกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติในอีก 20 ปีข้างหน้า เพื่อส่งเสริมกลยุทธ์ Thailand 4.0 ในทุกด้าน และได้มีการออกพระราชบัญญัติ พรบ. ทางเดินเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) และคาดว่าจะมีการเปิดตัวโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อีกจำนวนมาก ซึ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศไทยสอดคล้องกับโครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”
ผลการของความร่วมมือรอบด้านของทั้งประเทศเป็นที่น่ายินดี ความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตรของจีนกับไทยมีแนวโน้มที่ดี จีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญสำหรับข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และผลไม้เมืองร้อนของไทย นอกจากนี้สินค้าเกษตรแปรรูปขั้นต้น เช่น หมอนยางพาราและแป้งมันสำปะหลัง ก็เป็นที่นิยมในตลาดจีนเช่นกัน
ในปี 2018 ปริมาณการค้าระหว่างจีนกับไทยเกินกว่า 87.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จีนได้กลายเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทยเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน และไทยเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของจีนในอาเซียน
อุตสาหกรรมระยอง ไทย-จีน เป็นหนึ่งในเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าในต่างประเทศแห่งแรกของประเทศจีน และมีผู้ประกอบการจีน 105 บริษัท เข้าร่วม ในส่วนของอาลีบาบา Jingdong และหัวเว่ย ได้เข้าร่วมในโครงการทางเดินเศรษฐกิจในภาคตะวันออกของประเทศไทย
ในเดือนธันวาคม ปี 2017 โครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีนไทยเริ่มการก่อสร้าง หลังจากก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเสร็จสิ้น จะมีนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มใหม่มาเที่ยวไทยทุกปีเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน
ในด้านของการจัดหาเงินทุน ธนาคารกลางของทั้งสองประเทศได้ลงนามในสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินท้องถิ่นด้วยวงเงิน 70 พันล้านหยวน
จีนเป็นนักท่องเที่ยวและนักศึกษารายใหญ่สุดของไทย ในปี 2018 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมายังประเทศไทยเกินกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นหนึ่งในสามของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด ในจำนวนนั้นนักท่องเที่ยวชาวจีน 2 ล้านคน เดินทางมาภาคเหนือของประเทศไทย มีนักเรียนจีนเกือบ 40,000 คนกำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย มากกว่า 7,000 คนศึกษาในภาคเหนือของไทย และนักเรียนไทยกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศจีนอีกเกือบ 30,000 คน
กรอบความร่วมมือ แม่โขง-ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation : MLC) รัฐบาลทั้งสองประเทศร่วมกันส่งเสริมจัดตั้งกรอบความร่วมมือ แม่โขง-ล้านช้าง ในเดือนมีนาคม ปี 2016 การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือ แม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 1  จัดที่เมืองซานย่า มณฑลไหหนาน และผ่านการประกาศปฏิญญาซานย่า ในเดือนมกราคม ปี 2018 การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือ แม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ประชุมได้รับรองเอกสารผลลัพธ์ 2 ฉบับ ได้แก่  (1) แผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (5 – Year Plan of Action 2018 –และ (2) ปฏิญญาพนมเปญ (Phnom Penh Declaration) ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ที่สำคัญ
กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น จากกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง 3+5  กล่าวคือความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมและมนุษยศาสตร์เป็นสามเสาหลักของความร่วมมือ โดยเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศและระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ร่วมมือด้านกำลังการผลิต  เศรษฐกิจข้ามพรมแดน แหล่งน้ำการเกษตรและการบรรเทาความยากจน  รวมถึงการศึกษา  การสื่อสาร  สาธารณสุข และการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มเยาวชน ฯลฯ  ส่งเสริมให้ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาได้ออกกำลังร่วมกัน ผลักดันความร่วมมืออย่างครบวงจร
ความร่วมมือ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" จีน-ไทย (เหนือ) ที่มีโอกาสในวงกว้าง
ภาคเหนือของไทยมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกันกับจีน ประชาชนใกล้ชิดกัน จีนและไทย (เหนือ) มีศักยภาพมหาศาลในการร่วมมือกันในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งสนามบิน, รถไฟความเร็วสูง, ข้อมูลและการสื่อสาร, พลังงานใหม่, การเกษตร, วัฒนธรรม, การศึกษา, การท่องเที่ยว, รถยนต์พลังงานใหม่, อีคอมเมิร์ซ, เทคโนโลยี, การปกป้องสิ่งแวดล้อม, พลังงานแสงอาทิตย์, การกำจัดขยะ, การสร้างเขื่อน เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมในด้านต่างๆ เช่น
เสริมสร้างความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน พิจารณาสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายที่สองในกรุงเทพโดยผ่านเชียงใหม่ เชียงราย ลาวจนถึงคุนหมิง นอกจากการขยายสนามบินนานาชาติเชียงใหม่และการสร้างสนามบินแห่งที่สองแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์จากสนามบินานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงรายได้ หรือพิจารณาสร้างสนามบินนานาชาติใกล้กับจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัย ใช้ประโยชน์จากขุดอุโมงค์ การสร้างสะพานลอย และการปรับปรุงทางด่วน เชียงใหม่ควรสร้างรถไฟใต้ดินให้เร็วที่สุดและปรับปรุงการบริการเช่นระบบขนส่งสาธารณะและรถแท็กซี่ เสริมสร้างความร่วมมือในการก่อสร้างท่าเรือแม่น้ำโขง สำหรับการขนส่งสัตว์และการพัฒนาการท่องเที่ยว
ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตร เพิ่มมูลของสินค้าเกษตรและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจเช่น ชา กาแฟ ไม้ไผ่ และ หญ้าเนเปียร์ เพื่อลดการเพาะปลูกข้าวโพด สอนเกษตรกรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเทคนิคการรักษาฟางข้าว ดำเนินการช่วยเหลือคนยากจนในชนบทและให้บริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ ในวันที่ 5  มิถุนายน 2562 นี้ สถานกงสุลจีน ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ ยังมีกำหนดจัดการสัมมนาเรื่องการกำจัดหมอกควันอีกด้วย
ขยายความร่วมมือในด้านอีคอมเมิร์ซ สมาร์ทซิตี้ (เมืองอัจฉริยะ) พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีชั้นสูง
สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยภาคเหนือเข้าร่วมในงาน Shanghai China International Import Expo และส่งเสริมประสัมพันธ์คุณภาพของสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในภาคเหนือโดยเฉพาะสินค้าโอทอป

*****************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น