หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข่าว ; จัดแสดงละครโดยกลุ่มบุคคลบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา “ตื่นเพื่อฝัน”

มูลนิธิพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และ Interact Theater Company เมืองมินิสอะโพลิส รัฐมินนีโซต้า สหรัฐอเมริก จัดแสดงละครโดยกลุ่มบุคคลพิเศษที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา  ตื่นเพื่อฝัน

“Wake up and Dream” Interact Theater Company -Minneapolis, Minnesota  Rajanagarinda Institute for Child Development- Chiang Mai, Thailand An International Collaboration

เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ โดย Interact Theater Company และสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ เชียงใหม่ เพื่อสร้างการแสดงที่ประกอบด้วยนักแสดงกลุ่มบุคคลพิเศษ ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย และสติปัญญาจากประเทศอเมริกา และประเทศไทย โดย Jeanne Calvit ผู้ที่อยู่ในวงการนี้มานานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกศิลปะการแสดงแขนงนี้ ได้นำทีมสร้างสรรค์มาร่วมในการแสดงด้วย ได้แก่ Tod Petersen, Ryan Lee Hughes,  Natalie Wilson และ นักแสดงนำที่เป็นดาวน์ซินโดรมอีกสามคน คือ Eric Wheeler, Mike Brindley และ Matt Dahlstrom โดยร่วมทำงานกับผู้บกพร่องทางด้านร่างกาย และสติปัญญาจากประเทศไทยอีก 30 คน
สำหรับละครเพลง “ตื่นเพื่อฝัน” จะจัดการแสดงสู่มวลชน 3 รอบคือ วันศุกร์ ที่ 2 มีนาคม 2555 เวลา 19.00 น. และวัน เสาร์ ที่ 3 มีนาคม 2555 เวลา 14.00 และ19.00 . ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวมุม ถนน สุเทพ และ นิมมานเหมินทร์ บัตรเข้าชมราคา 200 บาท มีจำหน่ายที่หน้างาน


ความฝันครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อไมค์และแอน เลมิ่ง (ผู้อำนวยการโครงการ Spring Semester in Thailand ซึ่งร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ได้เห็นการแสดงเรื่อง "Northern Lights Southern Cross: เรื่องเล่าจากอีกฟากหนึ่งของโลก" เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดย Interact Theater และ Tutti Ensemble of Australia ที่ โรงละคร Guthrie ในเมืองมินิสอะโพลิส รัฐมินีโซต้า สหรัฐอเมริกา ได้ดลใจให้พวกเขาเกิดความคิดว่า จะดีแค่ไหนถ้าเราทำแบบนี้ที่ประเทศไทยด้วย และความคิดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการที่ Interact และ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ได้ร่วมมือกัน และได้พัฒนาต่อไปจึงมีองค์กรอื่นๆเข้ามาร่วม พร้อมการสนับสนุนจาก โครงการ Spring Semester in Thailand สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และ Interact Center for the Visual and Performing Arts (Minneapolis) คุณจินนี่ คาลวิทได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 เพื่อสอนการแสดงตลกให้กับกลุ่มบุคคลพิเศษเป็นเวลาหนึ่งเดือน และยังได้ร่วมทำงานกับผู้นำชุมชนทางการศึกษาและสุขภาพจิตในเชียงใหม่

This will be another year of the exciting international collaboration between award-winning Interact Theater Company from the USA and  Rajanagarinda Institute for Child Development (RICD) in Chiang Mai to create an original play comprising actors with and without disabilities from the United States and Thailand. Interact's Artistic Director Jeanne Calvit, known for her work in the United States for the last 30 years as a pioneer in the field of Arts and disabilities, has brought her creative team along to collaborate on the show’s creation. Among them are Tod Petersen, Ryan Lee Hughes,  Natalie Wilson, and three leading actors with down syndrome,  Eric Wheeler, Mike Brindley and Matt Dahlstrom who are wokining with thirty plus  talented young people with disabilities from Thailand.

The musical play "Wake Up and Dream" will be performed for the public in three shows at 7:00 pm on Friday, March 2, 2012 and at 2:00 pm and 7:00 pm on Saturday, March 3, 2012 at CMU Art Museum Theater (Corner of Suthep Road and Nimmanhemin Road).  Tickets are available at the door for 200 baht.

The dream began in November of 2009 when Mike and Ann Leming (Directors of Spring Semester in Thailand affiliated with the Faculty of Humanities of Chiang Mai University) saw a performance of "Northern Lights Southern Cross: Tales From the Other Side of the World"--a cross-cultural performance by Interact Theater and the Tutti Ensemble of Australia at the prestigious Guthrie Theater in Minneapolis, Minnesota. They were so inspired that they thought, "Wouldn't it be great if we could do some thing like this in Thailand?"  It was this idea that served as a springboard for the idea of a pilot project with Interact and Rajanagarinda Institute for Child Development (RICD). As the project developed many other organizations were invited to collaborate.

Sponsored by Spring Semester in Thailand, Rajanagarinda Institute for Child Development (RICD) and Interact Center for the Visual and Performing Arts (Minneapolis), Ms. Jeanne Calvit came to Thailand on February 14, 2010 for a one month Clown workshop with artists with developmental disabilities.   She also worked with the leaders in the educational and mental health community of Chiang Mai working with the disabled.

ก่อนที่คุณจินนี่จะเดินทางมาถึง นพ.สมัย ศิริทองถาวร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานกับบุคคลพิเศษในเชียงใหม่ เช่น ดร.ไชยันต์ (บิดาของศิลปินที่มูลนิธิบ้านสมานใจ) อาจารย์ไมค์และอาจารย์แอน เลมิ่ง ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยเกี่ยวกับโอกาสที่จะร่วมงานกับ Interact Center การประชุมนี้เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดจุดเริ่มต้นของโครงการที่จะนำนักแสดงพิเศษ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่คลินิกที่ทำงานกับบุคคลพิเศษในด้านทักษะ ได้มีโอกาสที่จะแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ การเติบโตทางศิลปะ และโอกาสทางการแสดงอย่างมืออาชีพ โดยในปีแรกการแสดงละครตลกครั้งแรกจัดขึ้นที่สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และการแสดงในปีที่แล้วมีชื่อว่า “แสวงหาความสนุก” ได้แสดงต่อหน้าสาธารณชนที่โรงละครหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนสามรอบ

Prior to her arrival Dr. Samai (Director of RICD) and members of his staff who worked with the disabled of Chiang Mai, Dr. Chaiyan (parent of one of the artists at Baan Sanook), and Ajarns Ann and Mike Leming met together to discuss this opportunity to collaborate with Interact Center for the Visual and Performing Arts (Minneapolis). This seminal meeting prompted the initiation of the project to provide artists with disabilities and the educators and clinicians who work with them the skills and opportunities for creative expression, artistic growth, and professional performance opportunities.   For the first year of the project first clown shows were held at RICD and last year the show, Searching for Sanook  was performed for the public at the Chiang Mai University Art Museum Theater in a three show run.

การฝึกซ้อมและการแสดงตลอดสามปีแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มีผลลัพธ์ที่ดีแก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่
1.                   กลุ่มบุคคลพิเศษ ซึ่งบางคนที่พูดภาษาไทยไม่ได้สามารถสร้างสายสัมพันธ์กัน และร้องเพลงสดด้วยกัน  
2.                   พวกเขาสร้างชุมชนนักแสดงที่ต่างคนได้ดูแลซึ่งกันและกัน
3.                   พฤติกรรมของนักแสดงแต่ละคนได้เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีบางคนที่ชอบนั่งเฉยๆ ไม่ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้เริ่มพูดคุยและมีบทบาทเป็นผู้นำ นักแสดงอีกคนเป็นคนขี้อายและไม่พูดภาษาไทยก็กลายเป็นนักแสดงนำตลก และคนที่มีสมาธิไม่เกิน 10 นาทีได้แสดงในฉากเป็นเวลา 2 ชั่วโมงโดยไม่มีปัญหาใดๆ และนักแสดงอีกสองคนที่มีข้อจำกัดเรื่องนั่งรถเข็นก็เอาตัวเองออกจากข้อจำกัดและเริ่มเดินด้วยเครื่องมือช่วยเดิน
4.                   นักแสดงได้เริ่มฝึกและซ้อมที่บ้าน และระหว่างพักซ้อมพวกเขามักจะมาด้วยความคิดสร้างสรรค์
5.                   ความอดทนทางร่างกาย และจิตใจพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น และพวกเขาสามารถทำงานเป็นเวลานาน และมีพลังเป็นเวลา 6 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง
6.                   นักแสดงค้นพบเป้าหมาย และพูดเกี่ยวกับความฝันในชีวิตของเขา จนกลายมาเป็นนักแสดง
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์และ Interact จึงได้พยายามให้ปีนี้ยิ่งใหญ่มากขึ้น รวมไปถึงมีนักดนตรีมืออาชีพ ผู้กำกับ และบุคคลพิเศษมาร่วมกัน เป้าหมายระยะยาวเพื่อสร้างศูนย์องค์กรไม่แสวงผลกำไรสำหรับทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง เพื่อผู้ใหญ่และผู้พิการอย่างยั่งยืน และเพื่อร่วมกับสถาบันฯ ภายใต้กรมส่งเสริมสุขภาพจิต ปัจจุบันนี้สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ได้สร้างอาคารเอนกประสงค์ ในรูปแบบของเปียโนขนาดใหญ่เพื่อใช้สำหรับละครบำบัดเพื่อเด็กและผู้ใหญ่ 

Three years of rehearsals and performances have shown us very clearly, there were many positive outcomes for everyone involved:
1.                   Groups of disabled artists, some of whom did not speak Thai, formed a bond and began improvising together.

2.                   They have now formed a community of actors with much mutual caring between the actors.

3.                   The individual actors' behavior began to visibly change (i.e. one person who sat passively and did not interact began speaking and taking on a leadership role, another that was painfully shy and spoke no Thai became one of the leading clowns, another who had a history of seizures and could concentrate no longer than 10 minutes was working on scenes for 2 hours without any problems, and two individuals confined to wheel chairs left their confinements and began to walk with the assistance of walkers).

4.               The participants began to take initiative and would rehearse at home and during rehearsal breaks they often came up with many creative ideas on their own.

5.               Their physical and mental endurance improved and they were able to work longer days and be very energetic for 6 hours at a time

6.               The participants found a sense of purpose and talked about how this was their lives' dream to become performers.
As a result of the positive changes in the participants, RICD and Interact have put together a much bigger effort this year,  involving professional musicians, actors, directors, and persons with disabilities.   Our long-term goal would be to create a sustaining NGO Center for the Visual and Performing Arts for adults of disability and to affiliate with RICD–the premier Thai governmental mental health facility in Chiang Mai.   Presently, RICD is building a Performing Arts Center, in the image of a grand piano,  to be used in arts therapy for children and adults.

วัตถุประสงค์หลักของการร่วมมือระหว่างประเทศ คือเพื่อช่วยเหลือกลุ่มบุคคลพิเศษผู้ใหญ่ในประเทศไทย (ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป) สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ได้จัดบริการโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ทำงานกับกลุ่มศิลปินในเชียงใหม่ โดยความร่วมมือนี้จะท้าทายแนวคิดของผู้คนต่อผู้พิการที่ว่า บุคคลเหล่านี้ทำงานที่เล็กน้อย และไม่สามารถทำงานที่ใช้ทักษะสูงที่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ สมาธิ และกฎระเบียบ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความท้าทายกลุ่มศิลปินจะทำให้พวกเขาตื่น และรับรู้ผ่านทางการรวมตัวกันของพรสวรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ และวิสัยทัศน์ของผู้คนที่ถูกมองข้ามในสังคมไทย  

The proposed center of international cooperation would serve the adult disabled population (post high school) presently underserved in Thailand.  RICD will coordinate services by medical professionals with those of the artistic community in Chiang Mai.  Through this collaboration, we will challenge existing stereotypes of people with disabilities that dictate that these individuals are only able to do menial work and are not capable of higher order skills that involve creativity, focus and discipline.  We also hope to challenge the artistic community to wake up and recognize through inclusion the unique talents and visions of people who have long been marginalized in Thai society.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น